top of page

กัญชงคืออะไร?

hemp.webp

กัญชง (Cannabis sativa) เป็นพืชตระกูลเดียวกับกัญชา แต่แตกต่างกันตรงที่มีสาร THC จำนวนน้อย ไม่เกิน 0.3%

 

ทั้งกัญชงและกัญชาประกอบไปด้วยสารแคนนาบินอยด์ (cannabinoids) เช่น CBD, cannabidivarin (CBDV), cannabigerol (CBG) เป็นต้น โดยการจำแนกกัญชงกับกัญชานั้น คำนึงจากการจำกัดสาร THC ในกัญชงไม่ให้เกิน 0.3% เมล็ดของกัญชงประกอบไปด้วย ไขมัน โปรตีน และสารอื่นๆ

หลายคนใช้กัญชงเพื่อบรรเทาอาการท้องผูก ไขมันในเลือดสูง ภาวะผิวหนังอักเสบ โรคข้ออักเสบ และอื่นๆอีกมากมาย แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนการใช้งานดังกล่าว

ผลข้างเคียง

การรับประทานเมล็ดกัญชง น้ำมันกัญชง หรือโปรตีนกัญชง เป็นอาหาร สามารถพบเห็นได้ทั่วไป กัญชงถือว่าค่อนข้างปลอดภัยเมื่อบริโภคแบบน้ำมัน เพื่อเป็นยา ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 6 เดือน แต่รายงานที่สนับสุนความปลอดภัยของดอกกัญชงหรือใบกัญชงยังมีไม่มากนัก อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่คาดคิด

ข้อควรระวัง

  • ในหญิงมีครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอในการยืนยันว่าการใช้กัญชงปลอดภัยสำหรับหญิงมีครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ไปก่อน

 

  • ในเด็ก เช่นเดียวกัน หลักฐานที่พิสูจน์ว่ากัญชงปลอดภัยที่จะใช้ในเด็ก ยังมีไม่มากพอ น้ำมันจากเมล็ดกัญชงอาจทำให้เกิดการง่วงนอน หรือตาแดงได้ในบางกรณี

  • ในคนที่แพ้กัญชา คนที่แพ้กัญชาก็อาจจะมีอาการแพ้กัญชงได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นควรใช้กัญชงด้วยความระมัดระวัง หากคุณแพ้กัญชา

 

  • ในการผ่าตัด โปรตีนกัญชงจะไปช่วยลดความดันโลหิต ซึ่งอาจจะทำให้ความดันโลหิตตำ่เกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่เข้ารับการผ่าตัด ดังนั้นจึงควรหยุดให้โปรตีนกัญชงอย่างน้อย 2 อาทิตย์ก่อนการผ่าตัด

การทำปฏิกิริยา

กรณีที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาพอสมควร

 

  • เมื่อบริโภคร่วมกับฮอร์โมนเอสโตเจน

เมล็ดกัญชงอาจจะไปเพิ่มปริมาณของฮอร์โมนเอสโตเจนในร่างกาย เมื่อบริโภคฮอร์โมนเอสโตเจน ร่วมกับเมล็ดกัญชง อาจจะไปมีผลข้างเคียงจากเอสโตเจนมากยิ่งขึ้น

 

  • เมื่อบริโภคร่วมกับยาสำหรับโรคความดันโลหิตสูง

โปรตีนจากเมล็ดกัญชงมีส่วนช่วยลดความดันโลหิต แต่ถ้าหากบริโภคกับยาลดความดัน ก็อาจทำให้ความดันโลหิตลดลงไปมากเกินไป ควรจะตรวจสอบความดันอย่างสม่ำเสมอ

 

กรณีที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเล็กน้อย

 

  • เมื่อบริโภคร่วมกับยาสลายลิ่มเลือด 

เมล็ดกัญชงอาจจะไปชะลอการแข็งตัวของเลือด หากบริโภคกับยาสลายลิ่มเลือด อาจทำให้เกิดการฟกช้ำ หรือเลือดออกได้

ปริมาณที่ใช้

เมล็ดกัญชง โปรตีนกัญชง และน้ำมันจากเมล็ดกัญชง ส่วนใหญ่จะถูกบริโภคในรูปแบบของอาหาร

 

ถ้าใช้เป็นยา ยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่าต้องใช้ในปริมาณไหน ถึงจะเหมาะสม และควรคำนึงเสมอว่าผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป และปริมาณที่ใช้เป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นควรจะปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด และปรึกษาผู้เชี่ยวชาณด้านการแพทย์ก่อนการใช้

แหล่งที่มา

bottom of page